เส้นประสาท

เส้นประสาท (Nerve Fiber)
                 
        เป็นกลุ่มของเส้นใยบาง ๆ จำนวนมากซึ่งเกิดจากเซลล์ประสาทหลายตัว รวมกันเข้าเป็นมัด เส้นประสาทอาจเป็นมัดของแอกซอน หรือมัดของเดนไดรท์ หรือทั้งสองชนิดรวมกันก็ได้
เส้นประสาทในร่างกายสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
          1. เส้นประสาทที่ออกจากสมอง เส้นประสาทประเภทนี้ มีทั้งสิ้น 12 คู่มีศูนย์กลางอยู่ที่สมอง บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการสัมผัส บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวแยกเป็นทางซีกซ้ายและซีกขวา เพื่อรับส่งความรู้สึกและคำสั่งตั้งแต่ลำคอขึ้นไป
          2. เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่แยกออกมาจากบริเวณไขสันหลัง จากกึ่งกลางลำตัวแยกกระจายออกไปทางซีกซ้ายขวาของร่างกาย เรียกว่าเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง (spinal nerve) ทำหน้าที่รับส่งความรู้สึกและคำสั่งตั้งแต่บริเวณลำคอลงไปตลอดทั้งร่างกายจนถึงปลายเท้า มีหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการเคลื่อนไหวมีทั้งสิ้น 31 คู่ โดยจะแยกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นเส้นประสาทส่วนของการรับความรู้สึก เข้าสู่ไขสันหลังทางด้านหลัง ส่วนอีกชุดหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เข้าสู่ไขสันหลังบริเวณช่วงท้อง
          เส้นประสาทแต่ละเส้นจะมีเซลส์ประสาท (Neuron) หลาย ๆ เซลส์เรียงต่อกัน เซลส์ประสาทกระจายไปเลี้ยงทั้งร่างกาย มีประมาณ 12,000 ล้านเซลส์ ในไขสันหลังและสมองมีเซลส์ประสาทมากที่สุด




   เซลล์ประสาท (neuron)
      เซลล์ประสาทเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลส์ประสาทหนึ่งเซลล์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
          1. ตัวเซลส์ (Cell body) เป็นจุดศูนย์กลางของเซลล์ประสาท ประกอบด้วย นิวเคลียส (nucleus) อยู่ตรงกลางเซลล์ ล้อมรอบด้วยของเหลวที่เรียกว่า ไซโตพลาส (cytoplast) มีผนังเซลล์ (cellmembrane) ทำหน้าที่เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์
          2. เดนไดรท์ (dendrite) เป็นเส้นใยที่ยื่นออกจากตัวเซลล์มีหน้าที่รับความรู้สึกมีกิ่งก้านสาขาเป็นแขนงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายรากแขนงของต้นไม้
          3. แอกซอน (axon) เป็นเส้นใยเดี่ยว ๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ส่งความรู้สึกของเซลล์นั้นไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ แอกซอนมีเปลือกหุ้มเรียกว่า ไมอิลินชีท (myelin sheath) ปลายสุดของแอกซอนเป็นพุ่มต่อกับอวัยวะเรียกเอนด์บลาส (end brust) ใยแอกซอนจะมีความยาวมากเป็นพิเศษ แต่ละเซลล์จะมีเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ปลายแขนงย่อยของแอกซอน ทุกแขนงจะมีตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่าตุ่มปลายประสาท (terminal buttons) การทำงานของแอกซอนจะเกิดขึ้น เมื่อตัวเซลล์ได้รับกระแสประสาทความรู้สึกจากเดนไดรท์จากนั้นจะส่งกระแสความรู้สึกนั้นไปยังแอกซอน แล้วแอกซอนจะส่งกระแสประสาทความรู้สึกนั้น ต่อไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ หรือส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดความรู้สึก หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
          เซลล์ประสาทในร่างกายอาจแบ่งหน้าที่การทำงานได้ 3 ประเภท ดังนี้
          3.1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัส เข้าสู่สมองและไขสันหลัง
          3.2. เซลล์ประสาทมอเตอร์ ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่กล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
3.3. เซลล์ประสาทเชื่อมโยง เป็นเซลล์ประสาทที่เชื่อมอยู่ระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทมอเตอร์



          4. ซิแนปส์ (Synaps) เป็นจุดต่อระหว่างใยแอกซอนของเซลล์ประสาทตัวหนึ่งกับเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง โดยที่เมื่อเซลล์ประสาทตัวหนึ่งส่งกระแสประสาทความรู้สึกเข้าสู่ แอกซอนจนถึงปลายตุ่มประสาทแล้ว กระแสความรู้สึกนั้นจะถูกส่งเข้าสู่บริเวณซิแนปส์ จากนั้นซิแนปส์จะรับกระแสประสาทและส่งต่อไปยังเดนไดรท์ เพื่อเข้าสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งทันที ซิแนปส์จึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมสัญญาณกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทตัวหนึ่งกับเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งนั่นเอง
     ประสาทรับความรู้สึก
          การได้ยิน คลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่หูชั้นนอกผ่านเข้าสู่หูชั้นกลางและชั้นใน และจะถูกเปลี่ยนเป็นแรงสั่นสะเทือนโดยกระดูกหูซึ่งวางเรียงตัวกันอยู่ แรงสะเทือนจะผ่านของเหลวภายในหูชั้นในและจะถูกแปรเป็นสัญญาณประสาทไฟฟ้าก่อนที่จะถูกส่งไปแปลความหมายในสมอง
       การรับรส ผิวของลิ้นปกคลุมด้วยตุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกว่าพาพิลลา (Papillae) จำนวนนับล้านซึ่งยื่นออกมาเหมือนนิ้วทำให้ผิวไม่เรียบเหมือนปุยขนพาพิลลามี 4 ชนิด ใน 3 ชนิดจะมีปุ่มรับรส ซึ่งถึงแม้จะสามารถรับรสมาตรฐานได้ 4 รสเท่านั้นคือ เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม แต่ด้วยเส้นประสาทที่ประสานกันอย่างซับซ้อนและประสาทรับกลิ่นทำให้เราสามารถแยกรสต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด
            การมอง แสงเข้าสู่ตาทางแก้วตาและถูกปรับให้ภาคคมชัดบนจอรับภาพที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ที่ซึ่งเซลล์ไวต่อแสงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปลความหมายของภาพ
        การดมกลิ่น ประสาทสัมผัสกลิ่นของคนเรามีศูนย์กลางอยู่ที่แผ่นเยื่อรับกลิ่นที่เพดานของช่องจมูก ขณะอากาศผ่านเข้าสู่ช่องจมูกจะกระตุ้นเซลล์ที่แผ่นเยื่อรับกลิ่นให้ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองเพื่อแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ
          การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราเกือบทั้งหมด ได้ข้อมูลมาจากประสาทรับความรู้สึกพื้นฐาน 5 ทางด้วยกัน คือ การเห็น ได้ยินเสียง รู้รส ได้กลิ่น และสัมผัส ในจำนวนนี้การเห็นและการได้ยินจัดว่าเป็นประสาทที่สำคัญที่สุดอย่างไรก็ดีในความเป็นจริง การรับรู้ทุกชนิดจะทำงานประสานกันเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ตัวอย่างที่แสดงถึงการทำงานร่วมกันนั้นเห็นได้ชัดขณะรับประทานอาหาร กลิ่นเป็นสิ่งสำคัญในการใช้แยกแยะความแตกต่างของอาหารที่มีรสและลักษณะเหมือนกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงรู้สึกเหมือนไม่รู้รสอาหารขณะเป็นหวัด อย่างไรก็ตามเมื่อความรู้สึกชนิดหนึ่งเสียไป ความรู้สึกชนิดอื่นอาจช่วยทดแทนกันได้ ตัวอย่างเช่น เราอาจใช้การสัมผัสและฟังเสียงหาทิศทางได้ขณะอยู่ในที่มืด










ที่มา www.skr.ac.th/link/web_education/web_teacher/sport/unit1.doc


1 ความคิดเห็น: